กรมส่งเสริมการเรียนรู้ สรุปผลการนิเทศการประเมินเทียบระดับการศึกษามิติความรู้ความคิด ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดเผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา มิติความรู้ความคิด ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2566 พร้อมกันทั่วประเทศ และแจ้งให้สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคทุกภาค นิเทศติดตามการดำเนินงานการประเมินเทียบระดับการศึกษา มิติความรู้ความคิด ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับใช้ในการพัฒนางานด้านการวัดผลและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่อไป ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคทุกภาค ได้รายงานผลการนิเทศติดตามการดำเนินการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว สรุปผลในภาพรวม ดังนี้

  1. กรรมการกลาง ในภาพรวม มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 100 โดยกรรมการกลางของสนามสอบทุกแห่งมีการชี้แจงการจัดสอบ การประชาสัมพันธ์/แนะนำ/ให้ข้อมูล การรับ – ส่งข้อสอบ
    และกระดาษคำตอบ การตรวจสอบการรับข้อสอบและกระดาษคำตอบ และการแต่งกายที่เหมาะสม
  2. กรรมการคุมสอบ ในภาพรวม มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 100 โดยกรรมการคุมสอบของสนามสอบทุกแห่งมีการชี้แจงการกรอกกระดาษคำตอบ วิธีระบายกระดาษคำตอบ การตรวจ/เก็บ/ปิดเครื่องมือสื่อสาร การตรวจบัตรประจำตัว การให้ผู้เข้าสอบลงลายมือชื่อ และการแต่งกายที่เหมาะสม
  3. ผู้เข้าสอบ ในภาพรวม มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 100 ประกอบด้วยการเข้าห้อง สอบตรงเวลา การเตรียมความพร้อม และการแต่งกายที่เหมาะสม
  4. ห้องสอบ ในภาพรวมมีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 97.27 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
    4.1 แผนผังห้องสอบมีการดำเนินงาน ร้อยละ 90.80
    4.2 ตารางสอบหน้าห้องมีการดำเนินงาน ร้อยละ 98.85
    4.3 รายชื่อผู้เข้าสอบหน้าห้องสอบมีการดำเนินงาน ร้อยละ 97.70
    4.4 เลขที่นั่งสอบ/รหัสประจำตัว/รายชื่อบนโต๊ะ มีการดำเนินงาน ร้อยละ 91.95
    4.5 การจัดโต๊ะ/เก้าอี้ รวมทั้งโต๊ะ/เก้าอี้ มีลักษณะที่เหมาะสม ผู้เข้าสอบสามารถนั่งสอบได้อย่างสะดวกสบาย มีการดำเนินงาน ร้อยละ 100
    4.6 แสงสว่างภายในห้องสอบ มีความเหมาะสม ร้อยละ 100
    4.7 บรรยากาศภายในห้องสอบ ห้องสอบมีความเงียบ มีสภาพโปร่ง ทำให้อากาศถ่ายเท
    ได้สะดวก มีการดำเนินงาน ร้อยละ 100
    4.8 การดูแลรักษาความสะอาดภายในห้องสอบ มีการดำเนินงาน ร้อยละ 98.85
  5. แบบทดสอบ ในภาพรวม มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 100 โดยตัวอักษรมีความชัดเจน และจำนวนหน้าของแบบทดสอบมีความสมบูรณ์ครบถ้วน รูปภาพในแบบทดสอบมีความชัดเจน
  6. สถานที่จัดสอบ ในภาพรวมมีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ร้อยละ 96.88 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
    6.1 การอำนวยความสะดวกในการเดินทางมีการดำเนินงาน ร้อยละ 100 เนื่องจากส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ในชุมชน อยู่ติดถนนสายหลัก และมีรถประจำทางผ่าน
    6.2 ป้ายประชาสัมพันธ์สนามสอบ มีการดำเนินงาน ร้อยละ 98.85
    6.3 ห้องกรรมการกลาง มีการดำเนินงาน ร้อยละ 98.85
    6.4 สถานที่จอดรถ มีการดำเนินงาน ร้อยละ 100
    6.5 ร้านอาหาร มีการดำเนินงาน ร้อยละ 80.46
    6.6 สถานที่พักผ่อน มีการดำเนินงาน ร้อยละ 100
    6.7 ห้องสุขา มีการดำเนินงาน ร้อยละ 100
  7. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบ 7.1 จากกรรมการกลาง
    • งบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอในการบริหารจัดการสอบ
      • อยากให้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานประเมินเทียบระดับการศึกษา
        มิติความรู้ความคิด เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน
        7.2 จากกรรมการคุมสอบ
  • ผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา มิติความรู้ความคิด บางส่วนไม่เข้าใจวิธีระบายกระดาษคำตอบ กรรมการคุมสอบจึงควรเน้นย้ำวิธีการระบายกระดาษคำตอบให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
    7.3 จากผู้เข้าสอบ
  1. ข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากผู้นิเทศ
    8.1 กรณีสนามสอบที่ใช้ห้องประชุมเป็นห้องสอบ ซึ่งสอบรวมกันทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรมีการกำหนดขอบเขตในแต่ละระดับให้ชัดเจน
    8.2 สถานศึกษาควรมีการชี้แจงข้อกำหนดและระเบียบที่เกี่ยวกับการประเมินเทียบระดับการศึกษา มิติความรู้ความคิด แก่ผู้เข้ารับการประเมินให้ทราบโดยละเอียดก่อนถึงกำหนดการประเมิน รวมทั้งการระบายกระดาษคำตอบแบบปรนัย และการเขียนคำตอบแบบอัตนัย
    8.3 สถานศึกษาทุกแห่งต้องกำชับให้นักศึกษาใช้ปากาสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น เขียนตอบ
    ลงในกระดาษคำตอบอัตนัย
    8.4 กรรมการคุมสอบต้องตรวจสอบความถูกต้องของกระดาษคำตอบ เช่น การระบายรหัสมาตรฐาน รหัสประจำตัวนักศึกษา ให้ครบถ้วนก่อนที่จะนำส่งกรรมการกลาง
    8.5 ชั่วโมงแรกของการสอบควรเป็นมาตรฐานที่ง่าย เพราะว่าผู้เข้ารับการประเมินบางรายสอบมาตรฐานที่ 1 แล้วไม่เข้าสอบมาตรฐานอื่น
    อธิบดีกรีมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวทิ้งท้ายพร้อมเน้นย้ำให้ทุกสถานศึกษาดำเนินการจัดสอบทุกประเภทด้วยความโปร่งใส เป็นระเบียบ และให้ความเป็นธรรมกับผู้เข้าสอบทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หากสถานศึกษาใดประสบปัญหาการจัดการสอบขอให้แจ้งประธานสนามสอบโดยทันที
Skip to content