เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2567 และแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเบลล่า บี อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีนายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีแนวนโยบายในการลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิต เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้จัดทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 จากนั้นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยกลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จึงได้จัดทำประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2567 ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน และประชาชนได้นำผลการเรียนหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ มาสะสมเทียบโอนและใช้ประโยชน์ในการเพิ่มคุณวุฒิการทำงานและการศึกษาต่อ
ในช่วงบ่าย นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้มอบนโยบาย การจัดประชุมปฏิบัติการ2 เรื่อง ดังนี้1. การจัดทำคู่มือและแนวทางการดำเเนินงานธนาคารหน่วยกิต มีความสอดคล้องตามมาตรา 15แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งก่อให้เกิดการเกิดกระบวนสะสมหน่วยกิต จากผลการเรียนหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ ซึ่งในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้ ได้ใช้แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เพื่อให้สถานศึกษา สถาบันภาค หน่วยจัดการเรียนรู้ มีคู่มือและแนวทาง สำหรับยึดถือปฏิบัติในการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต นอกจากนี้ ในคู่มือดังกล่าวควรจะมีรายเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานระดับจังหวัด สถาบันภาค และสถานศึกษา2. แนวทางการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มีผลให้ให้ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกรมส่งเริมการเรียนรู้มีหน้าที่ในการจัดทำคู่มือและแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ซึ่งประกอบด้วย 1) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานปฐมวัย ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย 2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐาน กระบวนการดำเนิน รวมทั้งวิเคราะห์วิเคราะห์ ความรู้ ทักษะ ความสามารถที่จำเป็น ในการศึกษาแต่ละประเภท รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาการขับเคลื่อนดังกล่าวจะก่อให้ หน่วยจัดการศึกษา สถาบันภาค สถานศึกษา มีคู่มือและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งก่อประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง
created with
Accessibility Tools