22 เมษายน 2568 / นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้นางยุพิน บัวคอม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ พร้อมด้วย นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะลงพื้นที่จังหวัดสงขลาในการร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมทัพ / พัฒนาศักยภาพครู ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (ครู สกร.) ด้วย ววน. พื้นที่ภาคใต้ วันที่ 22 – 23 เมษายน 2568 ณ จังหวัดสงขลา โดยได้รับเกียรติจาก นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และเยี่ยมชมผลงานนิทรรศการ พร้อมทั้งรับฟังผลการนำเสนอการใช้ประโยชน์นวัตกรรม ผลงานจากหน่วยงาน สถานศึกษาในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) และผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย โดยคลีนิคเทคโนโลยีในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และได้รับเกียรติจาก นายวิทยา จันทน์เสนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยกว่า 13 สถาบัน พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ ครู เจ้าหน้าที่ของ สกร.ประจำจังหวัดและสถาบันการศึกษาในสังกัด อว.ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมชูพันธ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยในการนี้ อว. มอบหมายให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับ มหาวิทยาลัย เครือข่ายหน่วยงานในระบบ อววน. และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในพื้นที่ภาคใต้ ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือ และวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่าง สถาบันการศึกษาในสังกัด อว.และหน่วยงาน สถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รับฟังประเด็นปัญหา/ความต้องการในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยคลินิกเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยฯ ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ตลอดจนการวางแผนการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกมิติ และร่วมจัดนิทรรศการ แสดงผลงานจำนวน 18 นิทรรศการ งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีระดับภูมิภาคในการนำเสนอความก้าวหน้า ของการพัฒนาทักษะอาชีพ ตามโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ สกร. ซึ่งได้ดำเนินการอบรมการพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามบริบทและอัตลักษณ์ของชุมชนในระยะที่ 1 ในปีที่ผ่านมาและจะจับมือขับเคลื่อนการพัฒนา รวมทั้งการนำเสนอต้นแบบผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ในสังกัด สกร.ได้ร่วมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ สำหรับการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งนับเป็นการหนุนเสริมให้เกิดกลไกสนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัย ให้เข้มแข็ง และสามารถส่งต่อ/ขยายผลหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม โดยการบูรณาการ เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่ายทั่วประเทศต่อไปสำหรับการนำเสนอการขับเคลื่อนผลงานในพื้นที่ นำเสนอความสำเร็จร่วมกันโดย คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ร่วมกับ ศกร.ตำบลเวียง สกร.ระดับอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของ ครู สกร. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการนำเสนอนิทรรศการจาก สกร.ได้แก่ สกร.ประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าทอเกาะยอ สกร.ประจำจังหวัดพังงา เรื่อง ผลิตภัณฑ์แฟชั่นบุปผาภูตาล สกร.ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากดินแดง สกร.ประจำจังหวัดระนอง เรื่อง เครื่องโซล่าเซลล์ต้นแบบเกษตรครบวงจร สกร.ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากเชือกเหลือใช้ สกร.ประจำจังหวัดยะลา เรื่องปลาส้มพรุลานควาย สกร.ประจำจังหวัดสตูล เรื่องการพัฒนาข้าวเกรียบจากบัวะบาโร้ย และในส่วนของ อว. โดยคลินิกเทคโนโลยี ได้แก่ มทร.ศรีวิชัย นครศรีธรรมราช เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ย เทคโนโลยีการแปรรูปน้ำผึ้ง เทคโนโลยีการแปรรูปเนื้อสัตว์ คลินิกเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย สงขลา ผลิตภัณฑ์เห็ดแครง ผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนัน เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม และผ้า Ecoprint เทคโนโลยีผ้ามัดย้อมพิมพ์ลาย คลินิกเทคโนโลยี มทร. ศรีวิชัย ตรัง ชุดเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก ชุดวัดคุณภาพน้ำ โดยระบบสามารถวัดค่า ได้แก่ ค่าความเค็มในน้ำอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความเข้มแสง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสาหร่ายขนนก ได้แก่ ข้าวสาหร่าย – ผงโรยข้าว สบู่สาหร่าย เครื่องดื่มสาหร่ายผลิตภัณฑ์กุ้งแห้งลดเค็มจากโครงการการใช้เทคโนโลยีพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์กุ้งแห้งลดเค็มชุมชนแปรรูปอาหารทะเล ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง และมีการส่งมอบ “เครื่องลดความชื้นน้ำผึ้งด้วยระบบสุญญากาศ” ผลผลิตของ “โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา” ภายใต้ “โครงการยุวชนอาสา ประจำปี พ.ศ. 2568” ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรงบ้านเกาะแลหนังฟาร์ม ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
Accessibility Tools