กรมส่งเสริมการเรียนรู้

Department of Learning Encouragement 

ประวัติความเป็นมา

กรมการศึกษานอกโรงเรียน

ต่อมา ได้มีการขยายโอกาสการศึกษาผู้ใหญ่อย่างกว้างขวางในปี 2513-2523 รัฐบาลจึงได้ยกฐานะกองการศึกษาผู้ใหญ่ ขึ้นเป็น "กรมการศึกษานอกโรงเรียน" ขึ้น เพื่อจัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประชาชนในวันที่ 24 มีนาคม 2522

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ และมีการยุบรวมกรมต่าง ๆ ของกระทรวงจากเดิม 14 กรม เหลือเพียง 5 สำนักงาน ทำให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ถูกยุบรวมเป็นสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 สำนักฯ จึงปรับภารกิจเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กรมส่งเสริมการเรียนรู้

กระทั่งวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยมีสาระสำคัญคือการยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และยกฐานะ ​สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นไป 60 วัน หรือตรงกับวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2566
            ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

ประโยชน์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

กรมส่งเสริมการเรียนรู้

พระราชบัญญัติฉบับนี้ มี 36 มาตรา
1. เหตุผลมีกฎหมายจากมาตรา 54 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 258 จ.ด้านการศึกษา (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
2. พระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบ

ประชาชนได้ประโยชน์อะไร ?

1. ประชาชนรับรู้ถึงความรับผิดชอบจาก "กรม" หน่วยงานราชการที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่ตน 
2. ประชาชนมีทางออกและทางเลือกในการเรียนรู้ เพื่อการพึ่งพาตนเองและการมีงานทำ 
3. ทุกคนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้ง 3 รูปแบบ
      1) การเรียนรู้ตลอดชีวิต  
      2) การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
      3) การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ 
      - ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
      - ระดับสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
4. ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา โดยการจัดส่งเสริม และสนับสนุนของกรม 
5. การเรียนรู้ที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุน โดย "กรม" ที่ไม่เลือกปฏิบัติ ต่อคนพิการ หรือบุคคลซึ่งมีความต้องการจำเป็นพิเศษ
6. ประชาชนได้รับโอกาสเข้าถึงระบบสะสมความรู้ การเทียบโอน และการเทียบเคียงผลการเรียน เพื่อการได้วุฒิการศึกษา

องค์กรได้ประโยชน์อะไร ?

1. การบริหารจัดการ "กรม" โดย "อธิบดี" แบบนิติบุคคล มีความคล่องตัวและชัดเจน
2. เปิดโอกาสสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อเข้ามาร่วมจัดส่งเสริม และสนับสนุน ให้แก่กรม และหน่วยงานในสังกัดได้อย่างหลากหลายและชัดเจน
3. ได้ทบทวนและกำหนดภารกิจหน่วยงานทุกระดับให้มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อน
4. ได้จัดตั้งศูนย์หรือสถาบันเฉพาะด้าน หรือเฉพาะกิจการเพิ่มขึ้นตามความจำเป็น
5. ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ให้มีประสิทธิภาพและมีระบบยิ่งขึ้น
6. การบริหารนโยบายงบประมาณมีการพัฒนาและเพิ่มเติมในอนาคต สอดคล้องระหว่างภาระงานกับงบประมาณค่าใช้จ่าย
7.การบริหารทรัพยากรบุคคล มีการพัฒนาและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บุคลากรสำนักงาน สกร. ได้ประโยชน์อะไร ?

1. ภาระงานของบุคลากรได้รับการทบทวนและพัฒนาอย่างสอดคล้องระหว่างปริมาณคนกับปริมาณงาน
2. ได้ทบทวนตำแหน่ง ค่าตอบแทน วิทยญานะของบุคลากรเพื่อการยกระดับ
3. ยกระดับการบริหารจัดการความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของบุคลากรทุกสายงาน
4. การปรับปรุงหรือกำหนดตำแหน่งขึ้นใหม่ เพื่อการปฎิบัติงานอย่างสอดคล้องกับบริบทในความรับผิดชอบ

Skip to content