กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เข้ม!! จัดทัพวางกรอบหลักสูตรฯ เตรียมพัฒนาครูแนะแนวทั่วประเทศ วันที่ 4 เมษายน 2567 นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้ นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครู สกร. ด้านการแนะแนว (Coaching) และให้คำปรึกษา โดยมี นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงาน สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ข้าราชการครู และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสุนทร สุนันท์ชัย กรมส่งเสริมการเรียนรู้นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนแนวทางการจัดการศึกษาตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ) เพื่อลดภาระผู้เรียนและผู้ปกครอง ว่าด้วยการจัดและส่งเสริมให้มีระบบการแนะแนว (Coaching) และเป้าหมายชีวิต และสอดคล้องกับ พ.ร.บ ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ตามมาตราที่ 9 ที่กำหนดให้มีระบบแนะแนวการเรียนและการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทราบล่วงหน้าหรือวางแผนให้สอดคล้องกับความถนัดของตน ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบแนวทางการเรียน และเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดระยะเวลาการเรียน ซึ่งเดิมกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สำนักงาน กศน.) ได้ดำเนินกิจกรรมงานแนะแนวผ่านการผสมผสานกับกิจกรรมการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในระหว่างเรียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันวางกรอบหลักสูตร ที่มีขอบข่ายการแนะแนวไว้ 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม รวมไปถึงวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา และการติดตามและช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อนำไปกำหนดเนื้อหารายละเอียดของหลักสูตรในการประชุมทำหลักสูตรในครั้งถัดไป ก่อนนำไปอบรมครู สกร.และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายงานด้านการแนะแนว ใน สกร.ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อตอบโจทย์ในการส่งเสริม พัฒนาบุคลากรในสังกัดให้เป็นนักจัดการเรียนรู้ที่มีทักษะ ความรู้ความเข้าใจ ด้านการแนะแนว สามารถแนะแนวกลุ่มเป้าหมายและผู้เรียนได้ รวมทั้งการจัดทำระบบแนะแนวที่มีคุณภาพ เสมือนสร้างความรู้ติดอาวุธให้ครูมีความเข้มแข็งตามระบบแนะแนว (Coaching) ทั้งด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ และการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้เรียน ไปสู่การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย ตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคลที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้เรียนค้นหาศักยภาพของตนเองตามความพร้อม โดยการวางแผนอนาคต และกำหนดเป้าหมายชีวิตตามความถนัดและความสนใจนางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบัน การแนะแนวนับว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้บุคคลที่ได้รับบริการสามารถเข้าใจตนเองและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในชีวิตได้ตามความต้องการและความสามารถของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางการเรียนและอาชีพที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญระหว่างการเรียนกับเป้าหมายในอนาคต ส่งเสริมแรงจูงใจในการเรียน และช่วยในการจัดการกับความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับการเรียนและอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะที่จำเป็น การแนะแนวจึงไม่เพียงช่วยในเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังช่วยในการพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์ ดังนั้นการจัดทำกรอบหลักสูตรการพัฒนาทักษะและสมรรถนะครู สกร. ด้านการแนะแนว (Coaching) และให้คำปรึกษา เพื่อสร้างความพร้อมให้ครูสามารถแนะแนวจัดกิจกรรมและเตรียมความพร้อมสู่เป้าหมายชีวิตของผู้เรียน จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะส่งผลทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีการวางแผนชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
created with
Accessibility Tools