เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้ นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมบรรณาธิการแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและแนวทางการดำเนินงาน ศกร.ตำบล โดยมีนางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร นักวิชาการ ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมบรรณาธิการ เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ในระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2567 ณ โรงแรมไมด้า ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
นายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวตอนหนึ่งว่า ในการจัดการเรียนรู้ ควรมองในมิติที่ละเอียดในการพัฒนาช่วงต่าง ๆ แต่ละช่วงวัยว่ามี Competency อะไรบ้าง เช่น ความรู้พื้นฐาน Function Literacy, Financial Literacy, Health Literacy เพราะในช่วงวัยของคนเราทำให้ความคาดหวังไม่เหมือนกัน Competency อาจไม่ได้เหมาะกับทุกช่วงวัย มุมการปฏิบัติงานในพื้นที่ และการทำคอร์สต่าง ๆ ควรสอดคล้องกับ Literacy อะไร เพื่อให้สอดคล้องกับคุณวุฒิตามระดับ ตอบ สตง. ได้ว่า คือกลุ่มคนชุดเดียวกัน ตั้งแต่เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาตนเอง และคุณวุฒิตามระดับ เป็นไปตามการเทียบโอนตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2566 ดังนั้น คอร์สต่าง ๆ ของตลอดชีวิต ต้องคำนึงถึงว่า การพัฒนาอาชีพ จะมีอะไรบ้าง มีคู่มือออกมาเรื่อย ๆ เล่มบรรณาธิการแนวทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองฉบับนี้จึงเป็น How to ว่าลงสู่การปฏิบัติอย่างไร ส่งเสริมการทำงานในพื้นที่อย่างไร โดยอ้างอิงตามแผนการศึกษาของชาติ ตั้ง Target ไว้ก่อน เพื่อตอบโจทย์ให้กับพื้นที่ได้อย่างแท้จริงนางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย กล่าวว่า ตามที่ผู้แทนสำนักงานกฤษฎีกา ได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ของ พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ว่า first priority สำคัญของการจัดการเรียนรู้ด้านนี้ คือ การให้บุคคลมีทักษะด้านการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพเป็นลำดับแรก เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฎิรูปประเทศด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เคยให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ว่าบทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ต่อจากนี้ไปต้องดำเนินการให้แตกต่างไปจากเดิม เน้นการเปิดโอกาสและแสวงหาภาคีเครือข่ายมามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยทั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้และภาคีเครือข่าย ต้องยอมรับทั้งผิดและชอบด้วยกัน โดยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัล มาจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย สาขาอาชีพและช่วงอายุ โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ด้อย ผู้พลาด ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาเท่านั้นให้เน้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีทักษะอาชีพ มีรายได้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมายในสังคมมากขึ้น
ดังนั้นการจัดทำแนวทางในการจัดการเรียนรู้แต่ละด้าน จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่กรมส่งเสริม การเรียนรู้ ต้องตระหนักถึงบทบาทภารกิจที่ยิ่งใหญ่ขึ้น และให้ความสำคัญการนำแนวทางไปสู่การปฎิบัติที่ต้องเชื่อมโยงในทุกมิติของการจัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงครูผู้จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ ต้องกล้าคิดใหญ่ คิดนอกกรอบเดิม และมีกรอบแนวความคิดที่ชัดเจน เพื่อให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและไปถึงเป้าหมายได้อย่างแท้จริงภาพ/ข่าว : กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย
created with
Accessibility Tools