สกร. ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาภายในจังหวัดบุรีรัมย์ผนึกกำลังพัฒนาแนวทางและระบบการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (Buriram Zero Dropout Model : BZDM)เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้นายเอกราช ชวีวัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาภายในจังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (Buriram Zero Dropout Model : BZDM) ระยะที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก นายปิยะ ปิจนำ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ ผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย นายสัมนาการณ์ บุญเรือง รองศึกษาธิการภาค 13 นางรุ่งอรุณ ไสยโสภณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษานอกระบบโรงเรียน นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ศึกษาธิการาจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ ทั้ง 4 เขต ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้บริหารหน่วยงานที่จัดการศึกษาภายในจังหวัดบุรีรัมย์ และองค์กรภาคีเครือข่าย ผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพฯในสังกัด สกร. เจ้าหน้าที่และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ระหว่างวันที่ 6 – 8 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมพิมานพรหม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์นายปิยะ ปิจนำ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ให้กลายเป็นศูนย์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดต้นแบบนำร่อง ถือเป็นวาระสำคัญแห่งชาติที่รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้เป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษาด้านการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพตามความสามารถของตน โดยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ผ่านมาตรการ “ป้องกัน แก้ไข ส่งต่อ ดูแลช่วยเหลือ” พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นต้น ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์ของประชากรเด็กและเยาวชนทุกคนอย่างแท้จริง จะส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศไทย เติบโตขึ้นเกือบร้อยละ 1.7 ของ GDPทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (Buriram Zero Dropout Model : BZDM) ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจของ กสศ.นั้น จำนวนเด็กและเยาวชนที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบการศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 1.02 ล้านคน จำแนกเป็นของจังหวัดบุรีรัมย์ 17,586 คน พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 6 – 15 ปี ที่พบตัวในพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 1,383 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ จำนวน 835 คน เคยศึกษา จำนวน 160 คน ไม่เคยศึกษา จำนวน 388 คน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่พบตัว มีจำนวนทั้งสิ้น 3,007 คน สาเหตุเนื่องมาจากย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หรือต่างจังหวัด เสียชีวิต เป็นต้น โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการฯในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ และบูรณาการข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานการศึกษาต่างๆให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยการคัดกรอง ตรวจสอบและจำแนกเด็ก เยาวชนที่หลุดและตกหล่นจากระบบการศึกษา และส่งต่อให้หน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่ดำเนินการต่อไป และที่สำคัญเพื่อปรับและพัฒนาคู่มือแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาพร้อมทั้งพัฒนาระบบรายงานผลสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับการนำไปใช้งานในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับกลุ่มเป้าหมายนี้ คณะทำงานได้จัดทำแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยให้มีการสำรวจและสอบทานตรวจสอบข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเป็นระยะ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการขับเคลื่อน ขยายผลการนำกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้และทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสนับสนุนให้เข้าสู่ระบบความคุ้มครองทางสังคม ความช่วยเหลือในทุกมิติ เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของ
created with
Accessibility Tools